บทความ

ขุนช้างขุนแผน

รูปภาพ
ขุนช้างขุนแผน ณ เมืองสุพรรณบุรี กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่าย รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ  นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อพลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อนางเทพทอง มีลูกชายชื่อขุนช้่าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำหนิด และครอบครัวของพันศร โยธาเป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ พิมพิลาไลย วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้ันแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก  ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย  นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่เมืองกาญจนบุรี ทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศร โยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย เมื่อพลายแก้วอายุได้ 15 ปี  ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์ม

อักษรไทย

รูปภาพ
อักษรไทย อั กษรไทย  เป็น อักษร ที่ใช้เขียน ภาษาไทย และภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ใน ประเทศไทย  มี พยัญชนะ  44 รูป  สระ  21 รูป  วรรณยุกต์  4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยก อักษรตัวใหญ่ หรือ อักษรตัวเล็ก อย่าง อักษรโรมัน  และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมี เครื่องหมายวรรคตอน จำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมี ตัวเลข เป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้ เลขอารบิก เป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ประวัติและวิวัฒนาการ ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด อักษรมอญและอักษรขอมที่ไทยนำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนเป็นอักษรที่รับและแป

รามเกียรติ์

รูปภาพ
รามเกียรติ์        รามเกียรติ์ มิใช่วรรณกรรมท้องถิ่นดั้งเดิมของไทย หรือของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากแต่มีที่มาจาก “รามายณะ” ของอินเดีย ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ดินแดนแถบนี้ได้มีการติดต่อกับชาวอินเดีย ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๘ เนื่องจากดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสินค้าที่ชาวอินเดียต้องการ คือ เครื่องเทศ ยางไม้หอม และไม้หอม เป็นต้น การติดต่อค้าขายนี้มีผลพวงที่ตามมา คือการติดต่อเผยแพร่ทางอารยธรรม มีทั้งที่ชาวอินเดียเป็นผู้นำมาเผยแพร่โดยตรง รับผ่านจากประเทศข้างเคียง และจากการที่คนในดินแดนนี้เดินทางไปศึกษาในอินเดีย และรับเอาอารยธรรม ความรู้ และตำราต่างๆ มาเผยแพร่ รามายณะ เริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่เข้าใจว่าพ่อค้าชาวอินเดียคงเป็นผู้นำมาเผยแพร่ในไทย แต่แรกคงมาในรูปแบบของการถ่ายทอดทางมุขปาฐะ คือเป็นการเล่า “นิทานเรื่องพระราม” และต่อมาจึงได้จดจารลงเป็นวรรณกรรมของไทย ซึ่งการจดจารนี้มิใช่เป็นการคัดลอก แต่เป็นการประพันธ์ขึ้นใหม่ตามฉันทลักษณ์ร้องกรองไทย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเนื้อเรื่องของรามเกียรติ์กับรามายณะแล้ว พบว่ารามเกียรติ์ของไ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

รูปภาพ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๒ ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๘๔๑ พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี พระราชประวัติ พระประสูติกาล พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุตทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพ่อขุนเม็งรายประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๒ พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้ พระนาม เมื่อพ่อขุนรามคำ

ภาษาไทย

รูปภาพ
ภาษาไทย                         ภาษาไทย  หรือ  ภาษาไทยกลาง  เป็น ภาษาราชการ และภาษาประจำชาติของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่ม ภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของ ตระกูลภาษาขร้ า-ไท   สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของ ประเทศจีน   และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก   ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน   และ ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับ ภาษาจีน  และออกเสียงแยกคำต่อคำ ภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพุทธศักราช 1826 โดย พ่อขุนรามคำแหง  และปรากฏอย่างสากลและใช้ในงานของราชการ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ด้วยการก่อตั้ง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ขึ้น และ ปฏิรูปภาษาไทย พุทธศักราช 2485 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 กลับโฮมเพจ

การนำเสนอข้อมูล

รูปภาพ
กลับโฮมเพจ

ศาสตร์พระราชา

รูปภาพ
กลับโฮมเพจ